วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552

ศาสนาพราหมณ์และฮินดู/Brahminism/Hindu

ศาสนาพราหมณ์(Brahminism)
ศาสนาพราหมณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ประเทศอินเดียปัจจุบัน ก่อนศาสนาพุทธประมาณ1,000 ปี กำเนิดขึ้นจากลัทธิเซ่นไหว้บูชาและความเชื่อถือในอิทธิฤทธิ์ของเทพเจ้าซึ่งปรากฏของธรรมชาติ เป็นศาสนาธรรมชาติ ไม่มีผู้ตั้งศาสนาที่เป็นมนุษย์ เริ่มต้นจากชาวอารยันอพยพจากถิ่นอื่นเข้ามาในประเทศอินเดีย ตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคเหนือของแคว้นปัญจาบแล้วเคลื่อนขยายตัวอยู่ถาวรในเขตลุ่มแม่น้ำคงคา ใกล้กับนครนิวเดลฮี โดยมีบทสวด(โศลก) ขับร้องสรรเสริญเทพเจ้าที่ชนเผ่าอารยันสักการะซึ่งท่องจำจากปากสืบทอดมาเกินกว่า3,000 ปี มีคัมภีร์ ซึ่งเรียกยุคนี้ว่ายุคพระเวท
ต่อมาได้เกิดลัทธิและปรัชญาเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ขึ้นมากในช่วงก่อน พ.ศ.57-พ.ศ.753 (ซึ่งได้เกิดศานาพุทธและเชนในพื้นที่ประเทศอินเดีย) จำนวน 6 ลัทธิ คือ ลัทธิสางขยะ ลัทธิโยคะ ลัทธินยายะ ลัทธิไวเศษิกะ ลัทธิวิมางสา และลัทธิเวทานตะ โดยลัทธิต่างๆเหล่านี้เกิดจากความเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์อุปนิษัท(เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ พระเจ้า มนุษย์และโลก)ที่มีจุดมุ่งหมายคือการหลุดพ้น (เรียกว่าโมกษธรรม) ยุคนี้เรียกว่ายุคมหากาพย์ หรือทัศนะทั้ง6
ในที่สุด(ระหว่าง พ.ศ.743-ปัจจุบัน)ได้มีการรวบรวม เรียบเรียงปรัชญาและทัศนะต่างๆจากมหากาพย์ เพื่อให้จดจำง่ายขึ้นเป็นคัมภีร์ และได้เกิดศาสนาฮินดู โดยศาสนาพราหมณ์มีคัมภีร์ 2 ประเภท คือ 1.คัมภีร์ศุรติ เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่พระเจ้าทรงเปิดเผยให้มนุษย์ทราบ และ 2.คัมภีร์สุมฤดี เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1.คัมภีร์ศุรติ ที่สำคํญคือ 1.1.คัมภีร์ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด กล่าวถึงบทเพลงสวด หรือมนต์สรรเสริญอ้อนวอนพระเจ้าและเทวี เกี่ยวกับการสร้างโลก และในการกำหนดหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยแบ่งเป็น 4 วรรณะ 1.2.คัมภีร์ยชุรเวท เป็นบทสวดที่ใช้ดำเนินการพิธีกรรม หรือบวงสรวง 1.3.คัมภีร์สามเวท เป็นคัมภีร์ที่บันทึกและประมวลบทสวดจากคัมภีร์ฤทเวท ที่ใช้สวดในพิธีถวายน้ำโสมแด่พระอินทร์ และคำสรรเสริญขับกล่อมเทพเจ้า( ทั้ง 3 คัมภีร์นี้รวมเรียกว่าไตรเวท หรือไตรเพท โดยแบ่งเป็น 4 หมวด คือ 1.สังหิตาหรือมันตรา เป็นหมวดรวมหรือชุมนุม สดุดีเทพเจ้าในพิธีบูชายํญ แต่งเป็นร้อยแก้วร้อยกรอง 2.หมวดพราหมณะ เป้นหมวดที่แต่งเป็นความเรียงที่อธิบายความหมายของบทสดุดี ใช้เป็นคู่มือเฉพาะ พรามณ์ผู้ทำพิธี 3.อรัณยกะ เป็นหมวดข้อปฏิบัติของพราหมณ์ในการดำเนินชีวิตในป่า โดยสละสมบัติส่วนตัวทั้งหมด และ4.อุปนิษัท เป็นหมวดคัมภีร์ปรัชญากล่าวถึงความคิด ความเห็น เรื่องพระเจ้า โลก มนุษย์ และวิญญาณ ) 1.4.คัมภีร์อถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่กล่าวเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ระบุเกี่ยวกับถ้อยคำเป็นมนต์คาถาอาคมขลังต่างๆ ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่จะทำให้เกิดความเจริญ ความเสื่อม ทำให้บุคคลรัก เสียหาย หรือตาย
2.คัมภีร์สุมฤดี เป็นคัมภีร์ที่บันทึกเรื่องราวสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและท่องจำสืบทอดกันมา มี 3 คัมภีร์ คือ 1.คัมภีร์ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงหลักกฏหมาย จารีตประเพณี สิทธิและหน้าที่ของคนในสังคม ซึงเป็นหลักการที่มีอิทธิพลเหนือกฏหมายของทุกประเทศที่กฏหมายธรรมศาสตร์เผยแพร่ไปถึง 2.คัมภีร์อติหาส เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่เล่าสืบทอดกันมา ได้แก่มหากาพย์รามายณะ มหาภารตะ ฯลฯ และ3.คัมภีร์ปุราณะ ได้กล่าวเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของชาวฮินดูสมัยโบราณและสมัยกลาง โดยรวบรวมเป็นหมวดหมู่เช่นสารานุกรม มี18 เล่ม ประกอบด้วย ปัญจะลักษณะ(ลักษณะ5ประการ) ได้แก่ เรื่องความเป็นมาของเอกภพ เรื่องความพินาศและการกลับฟื้นคืนใหม่ของเอกภพ เรื่องประวัติเทพเจ้าและทวยเทพ เรื่องการครองโลกของพระมนู 14 องค์และเรื่องประวัติสุริยวงศ์และจันทรวงศ์ (ซึ่งเป็นคัมภีรืที่ใช้ภาษาง่าย รวบรวมประเพณีและวัฒนธรรม คติธรรม คำสั่งสอนของศาสนา ปรัชญา เทพนิยายต่างๆ

ศาสนาฮินดู(Hindu)
เป็นศาสนาที่มีพัฒนาการสืบทอดมาจากศาสนาพราหมณ์ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นศาสนาประเภทเทวนิยมเต็มรูปแบบ โดยยึดหลักการการเคารพบูชาเทพเจ้า มีคัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และใช้เป็นหลักในการดำเนินวิถีชีวิตของชาวฮินดูตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งระบบวรรณะในการจัดระบบทางสังคมที่แบ่งเป็น 4 วรรณะคือพราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์และสูทร
โดยได้ผนวกคำสอนที่เกิดขึ้นใหม่และได้รับการยอมรับนอกเหนือจากหลักการของศาสนาพราหมณ์ คือคำสอนในคัมภีร์ภควัคคีตา ซึ่งได้เน้นหลักการ 4อย่างคือ 1.ภาวะสูง สุดแห่งวิญญาณของโลก เรียกว่า พรหม 2.ความเป็นภาวะอนิจจังของวัตถุโลกธาตุ 3.วัฏจักรของวิญญาณ 4.ความวิริยะตัดกงล้อแห่งวัฏจักรของวิญญาณนั้น
ซึ่งหลักการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเชื่อแก่ชาวฮินดู 2 ประการคือ 1.การเวียนว่ายตายเกิดอันเกิดจากผลของการทำความดีความเลวในอดีตชาติมีผลต่อชาติกำเนิดในปัจจุบัน และ 2.บุคคลในแต่ละวรรณะไม่อาจเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กันได้โดยเด็ดขาด และหากมีการแต่งงานข้ามวรรณะบุตรธิดาจะกลายเป็นคนนอกวรรณะเรียกว่าจัณฑาล ซึ่งมิอาจเกี่ยวข้องดำรงตนในวรรณะใดได้ด้วย จึงเป็นผลให้สังคมของชาวอินเดียมีลักษณะการแบ่งแยก ต่างคนต่างอยู่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ปัจจุบันศาสนาฮินดูมี 4 ลัทธิได้แก่
1.ลัทธิบูชาพระศิวะ(Saivism) หรือไศวะนิกาย เชื่อพระศิวะเป็นผู้สร้างแก่นสารแห่งสากลโลก โดยสร้างศิวลึงค์เป็นวัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์
2.ลัทธิบูชาพระวิษณุ(Vaisaavism) หรือไวษณพนิกาย หรือ ไวษณวะ เนื่องจากพระวิษณุเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย และเชื่อว่าเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีพระวิษณุจะอวตารมาเกิดเพื่อแก้ไขปัญหา ผุ้นับถือทุกคนจะมีเครื่องหมายที่โคนผมเหนือหน้าผากถึงคิ้วด้วยสีแดง หรือขาว ตั้งฉาก2เส้น และที่ดั้งจมูกมีรอยเท้าของพระวิษณุเป็นเครื่องหมาย
3.ลัทธิบูชามเหสีของพระผู้เป็นเจ้า(Saktism)หรือศักติ อุดมคติลัทธินี้แสดงออกในรูปสตรีที่เป็นผุ้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง เกิดพิธีกรรมต่างๆมากมาย เช่น การบูชาเจ้าแม่กาลี เจ้าแม่ทุรคา พระแม่อุมา การฆ่าสัตว์บูชายัญ
4.ลัทธิตันตระ เป็นลัทธิที่เกิดขึ้นมาจากคัมภีร์ปุราณะ มีจุดประสงค์เพื่อยกย่องและแสดงความจงรักภักดีต่อพระศิวะ หรือพระวิษณุ(นารายณ์)แลมเหสีคือพระนางปาราวดี(อุมา)ให้เด่นกว่ามหาเทพอื่น
-------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น