วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552

ศาสนาพราหมณ์และฮินดู/Brahminism/Hindu

ศาสนาพราหมณ์(Brahminism)
ศาสนาพราหมณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ประเทศอินเดียปัจจุบัน ก่อนศาสนาพุทธประมาณ1,000 ปี กำเนิดขึ้นจากลัทธิเซ่นไหว้บูชาและความเชื่อถือในอิทธิฤทธิ์ของเทพเจ้าซึ่งปรากฏของธรรมชาติ เป็นศาสนาธรรมชาติ ไม่มีผู้ตั้งศาสนาที่เป็นมนุษย์ เริ่มต้นจากชาวอารยันอพยพจากถิ่นอื่นเข้ามาในประเทศอินเดีย ตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคเหนือของแคว้นปัญจาบแล้วเคลื่อนขยายตัวอยู่ถาวรในเขตลุ่มแม่น้ำคงคา ใกล้กับนครนิวเดลฮี โดยมีบทสวด(โศลก) ขับร้องสรรเสริญเทพเจ้าที่ชนเผ่าอารยันสักการะซึ่งท่องจำจากปากสืบทอดมาเกินกว่า3,000 ปี มีคัมภีร์ ซึ่งเรียกยุคนี้ว่ายุคพระเวท
ต่อมาได้เกิดลัทธิและปรัชญาเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ขึ้นมากในช่วงก่อน พ.ศ.57-พ.ศ.753 (ซึ่งได้เกิดศานาพุทธและเชนในพื้นที่ประเทศอินเดีย) จำนวน 6 ลัทธิ คือ ลัทธิสางขยะ ลัทธิโยคะ ลัทธินยายะ ลัทธิไวเศษิกะ ลัทธิวิมางสา และลัทธิเวทานตะ โดยลัทธิต่างๆเหล่านี้เกิดจากความเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์อุปนิษัท(เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ พระเจ้า มนุษย์และโลก)ที่มีจุดมุ่งหมายคือการหลุดพ้น (เรียกว่าโมกษธรรม) ยุคนี้เรียกว่ายุคมหากาพย์ หรือทัศนะทั้ง6
ในที่สุด(ระหว่าง พ.ศ.743-ปัจจุบัน)ได้มีการรวบรวม เรียบเรียงปรัชญาและทัศนะต่างๆจากมหากาพย์ เพื่อให้จดจำง่ายขึ้นเป็นคัมภีร์ และได้เกิดศาสนาฮินดู โดยศาสนาพราหมณ์มีคัมภีร์ 2 ประเภท คือ 1.คัมภีร์ศุรติ เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่พระเจ้าทรงเปิดเผยให้มนุษย์ทราบ และ 2.คัมภีร์สุมฤดี เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1.คัมภีร์ศุรติ ที่สำคํญคือ 1.1.คัมภีร์ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด กล่าวถึงบทเพลงสวด หรือมนต์สรรเสริญอ้อนวอนพระเจ้าและเทวี เกี่ยวกับการสร้างโลก และในการกำหนดหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยแบ่งเป็น 4 วรรณะ 1.2.คัมภีร์ยชุรเวท เป็นบทสวดที่ใช้ดำเนินการพิธีกรรม หรือบวงสรวง 1.3.คัมภีร์สามเวท เป็นคัมภีร์ที่บันทึกและประมวลบทสวดจากคัมภีร์ฤทเวท ที่ใช้สวดในพิธีถวายน้ำโสมแด่พระอินทร์ และคำสรรเสริญขับกล่อมเทพเจ้า( ทั้ง 3 คัมภีร์นี้รวมเรียกว่าไตรเวท หรือไตรเพท โดยแบ่งเป็น 4 หมวด คือ 1.สังหิตาหรือมันตรา เป็นหมวดรวมหรือชุมนุม สดุดีเทพเจ้าในพิธีบูชายํญ แต่งเป็นร้อยแก้วร้อยกรอง 2.หมวดพราหมณะ เป้นหมวดที่แต่งเป็นความเรียงที่อธิบายความหมายของบทสดุดี ใช้เป็นคู่มือเฉพาะ พรามณ์ผู้ทำพิธี 3.อรัณยกะ เป็นหมวดข้อปฏิบัติของพราหมณ์ในการดำเนินชีวิตในป่า โดยสละสมบัติส่วนตัวทั้งหมด และ4.อุปนิษัท เป็นหมวดคัมภีร์ปรัชญากล่าวถึงความคิด ความเห็น เรื่องพระเจ้า โลก มนุษย์ และวิญญาณ ) 1.4.คัมภีร์อถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่กล่าวเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ระบุเกี่ยวกับถ้อยคำเป็นมนต์คาถาอาคมขลังต่างๆ ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่จะทำให้เกิดความเจริญ ความเสื่อม ทำให้บุคคลรัก เสียหาย หรือตาย
2.คัมภีร์สุมฤดี เป็นคัมภีร์ที่บันทึกเรื่องราวสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและท่องจำสืบทอดกันมา มี 3 คัมภีร์ คือ 1.คัมภีร์ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงหลักกฏหมาย จารีตประเพณี สิทธิและหน้าที่ของคนในสังคม ซึงเป็นหลักการที่มีอิทธิพลเหนือกฏหมายของทุกประเทศที่กฏหมายธรรมศาสตร์เผยแพร่ไปถึง 2.คัมภีร์อติหาส เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่เล่าสืบทอดกันมา ได้แก่มหากาพย์รามายณะ มหาภารตะ ฯลฯ และ3.คัมภีร์ปุราณะ ได้กล่าวเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของชาวฮินดูสมัยโบราณและสมัยกลาง โดยรวบรวมเป็นหมวดหมู่เช่นสารานุกรม มี18 เล่ม ประกอบด้วย ปัญจะลักษณะ(ลักษณะ5ประการ) ได้แก่ เรื่องความเป็นมาของเอกภพ เรื่องความพินาศและการกลับฟื้นคืนใหม่ของเอกภพ เรื่องประวัติเทพเจ้าและทวยเทพ เรื่องการครองโลกของพระมนู 14 องค์และเรื่องประวัติสุริยวงศ์และจันทรวงศ์ (ซึ่งเป็นคัมภีรืที่ใช้ภาษาง่าย รวบรวมประเพณีและวัฒนธรรม คติธรรม คำสั่งสอนของศาสนา ปรัชญา เทพนิยายต่างๆ

ศาสนาฮินดู(Hindu)
เป็นศาสนาที่มีพัฒนาการสืบทอดมาจากศาสนาพราหมณ์ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นศาสนาประเภทเทวนิยมเต็มรูปแบบ โดยยึดหลักการการเคารพบูชาเทพเจ้า มีคัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และใช้เป็นหลักในการดำเนินวิถีชีวิตของชาวฮินดูตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งระบบวรรณะในการจัดระบบทางสังคมที่แบ่งเป็น 4 วรรณะคือพราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์และสูทร
โดยได้ผนวกคำสอนที่เกิดขึ้นใหม่และได้รับการยอมรับนอกเหนือจากหลักการของศาสนาพราหมณ์ คือคำสอนในคัมภีร์ภควัคคีตา ซึ่งได้เน้นหลักการ 4อย่างคือ 1.ภาวะสูง สุดแห่งวิญญาณของโลก เรียกว่า พรหม 2.ความเป็นภาวะอนิจจังของวัตถุโลกธาตุ 3.วัฏจักรของวิญญาณ 4.ความวิริยะตัดกงล้อแห่งวัฏจักรของวิญญาณนั้น
ซึ่งหลักการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเชื่อแก่ชาวฮินดู 2 ประการคือ 1.การเวียนว่ายตายเกิดอันเกิดจากผลของการทำความดีความเลวในอดีตชาติมีผลต่อชาติกำเนิดในปัจจุบัน และ 2.บุคคลในแต่ละวรรณะไม่อาจเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กันได้โดยเด็ดขาด และหากมีการแต่งงานข้ามวรรณะบุตรธิดาจะกลายเป็นคนนอกวรรณะเรียกว่าจัณฑาล ซึ่งมิอาจเกี่ยวข้องดำรงตนในวรรณะใดได้ด้วย จึงเป็นผลให้สังคมของชาวอินเดียมีลักษณะการแบ่งแยก ต่างคนต่างอยู่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ปัจจุบันศาสนาฮินดูมี 4 ลัทธิได้แก่
1.ลัทธิบูชาพระศิวะ(Saivism) หรือไศวะนิกาย เชื่อพระศิวะเป็นผู้สร้างแก่นสารแห่งสากลโลก โดยสร้างศิวลึงค์เป็นวัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์
2.ลัทธิบูชาพระวิษณุ(Vaisaavism) หรือไวษณพนิกาย หรือ ไวษณวะ เนื่องจากพระวิษณุเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย และเชื่อว่าเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีพระวิษณุจะอวตารมาเกิดเพื่อแก้ไขปัญหา ผุ้นับถือทุกคนจะมีเครื่องหมายที่โคนผมเหนือหน้าผากถึงคิ้วด้วยสีแดง หรือขาว ตั้งฉาก2เส้น และที่ดั้งจมูกมีรอยเท้าของพระวิษณุเป็นเครื่องหมาย
3.ลัทธิบูชามเหสีของพระผู้เป็นเจ้า(Saktism)หรือศักติ อุดมคติลัทธินี้แสดงออกในรูปสตรีที่เป็นผุ้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง เกิดพิธีกรรมต่างๆมากมาย เช่น การบูชาเจ้าแม่กาลี เจ้าแม่ทุรคา พระแม่อุมา การฆ่าสัตว์บูชายัญ
4.ลัทธิตันตระ เป็นลัทธิที่เกิดขึ้นมาจากคัมภีร์ปุราณะ มีจุดประสงค์เพื่อยกย่องและแสดงความจงรักภักดีต่อพระศิวะ หรือพระวิษณุ(นารายณ์)แลมเหสีคือพระนางปาราวดี(อุมา)ให้เด่นกว่ามหาเทพอื่น
-------------------------

ลัทธิขงจื๊อ/เต๋า

ลัทธิขงจื๊อ
ขงจื๊อ มีชื่อแบบสามัญว่า ข่งชิว บรรพบุรุษของ ขงจื๊อ เดิมเป็นชนชั้นสูงใน ประเทศซ่ง ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดเหอหนาน ภายหลังพวกเขาได้อพยพไปอยู่ในประเทศหลู่ (ปัจจุบันคือซานตง) ภายหลังบิดาของขงจื๊อ ถึงแก่กรรม แม่ผู้ยังเยาว์วัยได้หอบหิ้วขงจื๊อเข้าไปอยู่ในเมือง ชวีฝู่ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศหลู่ ผู้เป็นแม่เป็นห่วงเรื่องการศึกษาของขงจื๊อเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเล็งเห็นว่าการจะมีชีวิตที่มีอนาคตนั้น ขงจื๊อต้องเป็นขุนนาง และมีวิธีเดียวที่จะบรรลุได้ คือการเรียนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นหนทางของการมีความรู้นั่นเอง ขงจื๊อเป็นเด็กที่เชื่อฟังคำของมารดาเป็นอย่างยิ่ง ตั้งใจเรียนหนังสืออย่างจริงจังและขยันขันแข็ง อ่านหนังสือจนลืมพักผ่อนบ่อยๆ แต่ละวันๆ มารดาต้องเตือนให้พักผ่อน เขาจึงจะหยุดพักผ่อน ซึ่งก็เป็นการพักผ่อนเพียงชั่วครู่ เขามักจะพูดว่า เรียนหนังสือต้องเรียนให้ดี การทำอะไรทั้งมวลต้องไม่หยุดกลางคัน
ตั้งแต่เด็กจนเป็นหนุ่ม ขงจื๊อมีความรู้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อายุยังไม่ถึง 20 ปี ก็เป็นผู้มีชื่อเสียงของประเทศหลู่คนหนึ่งแล้ว เมื่ออายุ 20 ปีเศษ มีบุตรชายหนึ่งคน ฮ่องเต้ของประเทศหลู่ ได้ส่งปลา หลี่-ยวี๋ มาแสดงความยินดี ลูกชายของขงจื๊อจึงมีชื่อว่า หลี่ ( ขง หลี่ )แม้ว่าขงจื๊อจะมีชื่อเสียง แต่ก็เป็นผู้เปิดกว้าง ถ่อมตน มักจะพูดว่า เรื่องที่ตัวรู้นั้นยังมีไม่มาก ดังนั้นเพื่อนฝูงและเพื่อนบ้านต่างชอบเขาโดยทั่วกัน
ขงจื๊อเป็นผู้ที่มีความชาญฉลาดเป็นเลิศ เขามีดำริที่จะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติเพื่อให้ประเทศหลู่เป็นประเทศที่เข้มแข็งประเทศหนึ่ง แต่เหล่าขุนนางที่เสนอหน้าต่อฮ่องเต้พูดถึงขงจื๊อแต่เรื่องไม่สร้างสรรค์ ดังนั้นเขาจึงได้เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยอยู่ 2 ครั้ง ระหว่างอายุ 20 - 27 ปี จนกระทั่งในปี 501 ก่อน ค.ศ. อายุได้ 51 ปี ขงจื๊อจึงได้รับโองการจากฮ่องเต้ให้ดูแลกิจการภายในเมืองหลวง และภายหลังฮ่องเต้ทรงเห็นผลงานที่สำเร็จเรียบร้อยทั้งหลาย ยิ่งมอบงานสำคัญให้ขงจื๊อมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศหลู่เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว
ประเทศฉี ซึ่งมีอาณาเขตติดกับประเทศหลู่ เป็นประเทศใหญ่ประเทศหนึ่ง ฮ่องเต้ประเทศฉี มีความกังวลต่อความเจริญของประเทศหลู่ จึงเกิดความคิดที่จะเชิญฮ่องเต้ประเทศหลู่มาพบปะสนทนาเจรจาความเมือง แล้วลักพาตัวฮ่องเต้ประเทศหลู่ เพื่อจะทำให้ประเทศฉีปกครองประเทศหลู่ได้
ก่อนที่ฮ่องเต้หลู่จะไปร่วมประชุมสนทนา ขงจื๊อได้กราบทูลว่าเคยได้ยินผู้อื่นพูดว่า การแลกเปลี่ยนใด ๆ กับต่างประเทศต้องเตรียมกำลังทหารให้พร้อม การเจรจาจึงบรรลุจุดประสงค์ ดังนั้น เห็นควรนำกองทหารติดตามฮ่องเต้ไปด้วย ฮ่องเต้หลู่เห็นชอบกับขงจื๊อ
วันนัดพบมาถึง ระหว่างที่ฮ่องเต้ 2 แผ่นดินกำลังเจรจากัน คนของฮ่องเต้ฉีได้เข้ามารายงานว่าได้เตรียมคณะเต้นรำไว้พร้อมแล้ว จะขอเริ่มการแสดงให้ชม ฮ่องเต้ฉี อนุญาตโดยไม่ลังเล บรรดานักแสดงทุกคนมีอาวุธ อีกทั้งการปรากฎตัวก็ดูไม่เหมือนคณะเต้นรำ ขงจื๊อเห็นสถานการณ์ไม่ดี ก็ตะโกนด้วยเสียงอันดังขึ้นว่า "ฮ่องเต้ของ 2 ประเทศกำลังสนทนากันอยู่ในเรื่องสำคัญ ทำไมจึงอนุญาตให้ผู้คนเหล่านี้เข้ามาเต้นรำ ขอให้สั่งให้พวกเขาออกไปเดี๋ยวนี้" ฮ่องเต้ฉี เห็นอาวุธมีดที่ตัวขงจื๊อ ซึ่งยืนประชิดอยู่ ก็รู้ว่าต้องให้นักแสดงเหล่านั้นออกไป และฮ่องเต้ฉี ทราบว่ากองทหารของประเทศหลู่ ก็ตั้งอยู่ไม่ไกล แผนการณ์จับตัวฮ่องเต้หลู่ไม่ประสบผลสำเร็จแน่นอน จึงประกาศจบการสนทนา
ระหว่างที่ขงจื๊อเป็นขุนนางประเทศหลู่ ประเทศนี้มีความเข้มแข็งมาก คุณภาพของชีวิตของประชาชนยิ่งดีวันดีคืน ฮ่องเต้และประชาชนล้วนเคารพนับถือขงจื๊อ
คัมภีร์ของศาสนาขงจื๊อ คือเกงทั้ง 5 และ ซูทั้ง4
เกงทั้ง 5 ประกอบด้วย
1. ซี-กิง พรรณนาถึงหลักศีลธรรม และพระเกียรติพระราชกรณีกิจของกษัตริย์ มี 305 บท
2.ซู-กิง มีเนื้อหาประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ถึง ราชวงศ์มุกุง
3.ยิ-กิง บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงทางจักรวาลวิทยา
4. ลิ-กิง เป็นคัมภีร์ว่าด้วยจารีต ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ
5. ซุน-ชิว เป็นคัมภีร์ที่บรรยายถึงประวัติศาสตร์สมัยเจ้าผีครองแคว้นลู่ 12 คน
ซูทั้ง 4 ประกอบด้วย
1. ต้าเซี่ยว มีเนื้อหาว่าด้วยคุณธรรม แต่งโดยศิษย์ของขงจื๊อ
2. จุง-ยุง ว่าด้วยการปฏิบัติสายกลาง
3. ลุนยู เป็นคัมภีร์รวบรวม ภาษิต ของขงจื๊อ
4. เม่งจื๊อ รวบรวมคำสอนของขงจื๊อขึ้นเป็นคัมภีร์
ตามทัศนะของขงจื๊อแล้วท่านเห็นว่า ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมืองต้องอยู่ด้วยกัน จะแยกออกจากกันไม่ได้โดยจุดศูนกลางอยู่ที่จริยศาสตร์ หรือ ศีลธรรม
โลหิตแห่งชีวิต คือ ความรัก กระดูกสันหลังแห่งชีวิต คือ คุณธรรม
หัวใจนักปกครอง มี 5 ประการ คือ
1. เหยิน หมายถึง ความเมตตากรุณา 2. ยิ หมายถึง ความถูกคุณธรรม
3. ลิ หมายถึง ความเหมาะสม 4.ซิ หมายถึง ปัญญา 5. ซุณ หมายถึงความเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ สายสัมพันธ์ทั้ง 5
งานหลักของขงจื๊อ คือ งานแก้ไขสังคม ชำแหละ ความฟอนเฟะของสังคมให้สะอาด และความเหลวแหลกให้เรียบร้อย จึงได้วางความสัมพันธ์ไว้ให้บุคคลพึงปฏิบัติต่อกัน 5 สาย คือ
1.สายสัมพันธ์ระหว่างนักปกครองกับผู้ใต้ปกครอง 2. สายสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร
3. สายสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา 4. สายสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง
5. สายสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
ศาสนาขงจื๊อมีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ เทียนหรือสวรรค์ เอกชนผู้ปฏิบัติชอบตายไปแล้วก็เป็นวิญญาณฝ่ายชอบที่จะเข้าถึงสวรรค์ได้ในที่สุด วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงสวรรค์ได้จะต้องตั้งอยู่ในคุณธรรมของศาสนาโดยมีจริยธรรมทางกายและใจอย่างครบถ้วยในตนเอง
สัญลักษณ์ของศาสนาขงจื๊อโดยตรงได้แก่ รูปของขงจื๊อ อาจจะเป็นรูปปั้น รูปหล่อ หรือแม้แต่รูปเขียน รูปวาด โดยอ้อมได้แก่ รูปคนจีนแต่งตัวโบราณ กำลังประสานมือแสดงคารวะต่อกัน เป็นภาพแสดงถึงวัฒนธรรมหรือมารยาททางสังคม ซึ่งขงจื๊อได้สอนเอาไว้ในคัมภีร์ลี-กิง สัญลักษณ์อีกอย่างก็คือ หยิน-หยาง เป็นภาพวงกลมแบ่งเป็น 2 ส่วนเเท่ากันด้วยเส้นเว้า อันแสดงถึงธรรมชาติของโลก และของมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นคู่ ๆ เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ของศาสนาเต๋า แม้ในสมัยราชวงศ์ซุงจะมีศาสนิกชนพวกใหมที่ยอมรับเอาความคิดเรื่อง หยินหยาง แต่เราก็ไม่อาจจะจำแนกได้ขนาดถึงเป็นนิกายใหม่
พิธีกรรมที่สำคัญ
1.พิธีบูชาขงจื๊อ ที่หลุมศพขงจื๊อ จะมีผู้ไปเส้นไหว้บูชาเป็นประจำ และมีการบูชาประจำปีประมาณปีละ 2 ครั้ง โดยแต่ละเมืองจะมีข้าราชการในหัวเมืองเป้นผู้นำ ส่วนในเมืองหลวงองค์จักรพรรดิจะเป็นผู้รับหน้าที่เอง ส่วนพิธีธรรมดาจะมีประมาณเดือนละ 2 ครั้ง มีการใช้สัตว์เซ่งไหว้ที่แท่นบูชา ประมาณ ปี ละ 3 - 4 หมื่นตัว
2.พิธีบูชาฟ้าดิน พระจันทร์ พระอาทิตย์ ปีหนึ่งจะมี ประมาณ 4 ครั้ง โดยจะบูชา ฟ้า 1ครั้ง ดิน 1ครั้ง พระจันทร์ 1 ครั้ง พระอาทิตย์ 1 ครั้ง ใน 4 ฤดู ณ สถานที่ 4 ทิศ ของ กรุงปักกิ่ง
ครั้งที่สำคัญที่สุดคือพิธีบูชาฟ้าตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ในพิธีจะมีดนตรี โคมไฟ เครื่องเซ่งไหว้ แต่ในปัจจุบันหาดูได้ไม่ง่ายนัก
3.พิธีบูชาเทียน และวิญญาณบรรพบุรุษ ชาวจีนเชื่อว่ามี เทพเจ้าเทียน และทรงประทับอยู่บนฟากฟ้า ดังนั้นเขาจะทำการบูชาเเทพเจ้าเทียน และวิญญาณบรรพบุรุษ พร้อมกันเสมอ


ลัทธิเต๋า (ภาษาจีน: 道教, พินอิน: Dàojiao)
เป็นลัทธิและศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ โดยคำว่า เต๋า แปลว่า "หนทาง" ไม่สามารถที่จะรู้จากอักษรและชื่อ ถ่ายทอดไม่ได้ เล่าจื๊อเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ได้เขียนข้อความสื่อถึงเต๋าในชื่อหนังสือว่า เต๋าเต็กเก็ง (Tao Te Ching) (道德經)
หยินหยาง ยังมีชื่อเรียกอีกว่า คติทวินิยม, พุท, อัว หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม ,สิ่งที่เป็นของคู่ ของคู่อันพึ่งทำลาย ของคู่อันทำให้สมดุล ธรรมชาติประกอบด้วยของคู่
หยาง คือพลังบวกมีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ ฯลฯ
หยิน คือพลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง เช่น เงามืด น้ำ ฯลฯ เอกภพเกิดขึ้นโดยมีหยินและหยาง จากการปะทะกันของสองสิ่งนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็อุบัติขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างมีพลังทั้งสองนี้ทั้งนั้น บางครั้งหยินอาจมีพลังแข็งแรง แต่บางครั้ง หยาง ก็มีพลังมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ท่อนไม้ ตามปกติเป็นหยิน แต่เมื่อโยนเข้าไปในกองไฟ ก็เปลี่ยนรูปเป็นหยางไป ในชีวิตหยินและหยางก่อให้เกิดความล้มเหลวและความสำเร็จเป็นต้น เช่นเดียวกัน หยางและหยินไม่ใช่เป็นตัวแทนของความดีและความชั่ว แต่ทั้งสองนี้มีความจำเป็นต่อกฏเกณฑ์และระเบียบของเอกภพ ทั้งสองนี้ไม่ใช่อยู่ในภาวะปะทะกันตลอดเวลา แต่ยามใดมีความสามัคคีกัน ทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นสิ่งดีด้วยกัน
--------------------